Skip to content

ห้องเรียนคุณครูแมว

Wide screen resolution Increase font size Decrease font size Default font size default color black color cyan color green color red color
ลานหน้าห้อง arrow โต๊ะทำงาน arrow งานเขียนครูแมว arrow การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
โต๊ะทำงานห้องครูแมว - งานเขียนครูแมว
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม   

        การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
        การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ

แนวทางการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงมีแนวทางดังต่อไปนี้

1. ใช้เครื่องมือประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย กล่าวคือ ครูต้องศึกษาพัฒนาการทุกด้านของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ในเครื่องมือการประเมิน การที่ครูรู้พัฒนาการและเข้าใจจุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมจะทำให้ครูสามารถประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้อย่างแท้จริงได้

2. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสมคือ การสังเกตหรือการสนทนากับเด็ก แล้วบันทึกอย่างเป็นระบบ วิธีการบันทึกอาจใช้วิธีการสำรวจรายการ การจดบันทึกพฤติกรรม มาตราส่วนประเมินค่า อาจใช้วิธีการบันทึกวีดิทัศน์ บันทึกเสียง เก็บตัวอย่างงาน หรือใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ทั้งนี้ ครูควรเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือในแต่ละประเภท และเลือกใช้เครื่องการประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถสะท้อนการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง

3. บูรณาการการสอนกับการประเมิน การประเมินถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การประเมินอย่างต่อเนื่องทำให้ครูทราบพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไรต่อไป งานที่สำคัญของครูในส่วนนี้ คือ ครูต้องทบทวนว่าจะประเมินพัฒนาการตามรายการใด เลือกใช้เครื่องมือประเมินชนิดใด ประเมินในช่วงเวลาใดในกิจกรรมประจำวันที่จัดขึ้น การวางแผนการประเมินที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้จะช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์โดยทำการประเมินควบคู่กันไปได้อย่างราบรื่น

4. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก ในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ ครูควรบันทึกสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อเป็นการประเมินความก้าวหน้าของเด็ก ไม่ควรมุ่งสังเกตสิ่งที่เด็กยังไม่สามารถทำได้ การทราบสิ่งที่เด็กทำได้จะช่วยให้ครูสามารถแนะนำ สนับสนุนให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการในขั้นที่สูงขึ้นได้ การเน้นที่ความก้าวหน้าของเด็กนี้ถือเป็นการวินิจฉัยและช่วยแก้ปัญหาให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

5. ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิต ขณะที่เด็กร่วมกิจกรรมครูควรให้ความสนใจกับกระบวนการในการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ขณะที่เด็กกำลังลงชื่อมาโรงเรียน เมื่อครูสังเกตกระบวนการทำงานของเด็ก จะพบว่าเด็กบางคนใช้วิธีคัดลอกชื่อของตนโดยมองจากชื่อที่ปักที่เสื้อ ทำให้ผลงานการเขียนมีลักษณะกลับหัว บางคนอาจเขียนได้อย่างคล่องแคล่วจากความจำของตนเองโดยที่ผลผลิตมีลักษณะใกล้เคียงกับคนที่เขียนโดยการคัดลอกจากแบบที่ครูเตรียมไว้ หากไม่สังเกตกระบวนการย่อมทำให้ครูไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามครูควรให้ความสนใจและควรตรวจสอบทั้งกระบวนการและผลผลิตควบคู่กันไป

6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย ครูจำเป็นต้องประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจากบริบทที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ตรงตามสภาพจริงของเด็ก การด่วนสรุปจากบริบทใดบริบทหนึ่งอาจทำให้ไม่ได้ผลการประเมินที่แท้จริง เนื่องจากเด็กอาจจะทำกิจกรรมในบริบทหนึ่งได้ดีกว่าอีกบริบทก็ได้

7. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องเฝ้าสังเกตเด็กแต่ละคน เพื่อให้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล การประเมินเป็นรายบุคคลนอกจากจะทำให้ครูทราบความก้าวหน้าของเด็กแล้ว ยังช่วยให้ครูทราบความสนใจ ทัศนคติ ความคิด ฯลฯ เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการช่วยเหลือสนับสนุนเด็กได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

8. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้คิดไตร่ตรองเพื่อประเมินความก้าวหน้าของตนเอง การที่เด็กมีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าของตนเอง จะช่วยให้เด็กภูมิใจ และเกิดความต้องการที่จะพัฒนาตนเองต่อไป โดยครูอาจนำแฟ้มสะสมงานของเด็กมาใช้ในการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง

วิธีการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
        การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่

1. เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีดังนี้

    1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก ครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็ก เพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น ความต้องการ ความสนใจ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดเวลา แนวทางที่ชัดเจน และจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในวิเคราะห์และสรุป ทั้งนี้ การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็กอาจทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  

 

(ตัวอย่าง 1)

แบบบันทึกพฤติกรรมเด็กแบบสำรวจรายการ

ด.ญ.ฟ้า  ชั้นอนุบาลปีที่ 2

 

 

รายการ

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 4

 

 

11 มิ.ย.50

9 ก.ค.50

13 ส.ค.50

9 ก.ค.50

 

 

ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ

ถือหนังสือถูกด้าน หัวไม่กลับ

P

P

P

P

 

 

ชี้ชื่อเรื่องของหนังสือได้

O

P

P

P

 

 

พลิกหน้าหนังสือจากหน้าแรกไปหน้าหลัง

P

P

P

P

 

 

ชี้คำขณะที่อ่าน หรือมองตามตัวหนังสือ

O

O

P

P

 

 

ชี้จุดเริ่มต้นของข้อความ

O

O

O

P

 

 

ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 

 



(ตัวอย่าง 2)

แบบบันทึกพฤติกรรมเด็กแบบจดบันทึก

ด.ญ. ฟ้า  ชั้นอนุบาลปีที่ 2

การให้ความ

ช่วยเหลือผู้อื่น

รักษาธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

พยายามแก้ปัญหา

ด้วยตนเอง

ฯลฯ

19 พ.ค.50

ที่สนามเด็กเล่น น้องปอสะดุดล้ม น้องฟ้าเดินเข้าไปประคอง

และถามว่า เจ็บมั๊ย

25 พ.ค.50

ที่หน้าห้องเรียนหลัง

ทานอาหารกลางวัน

น้องฟ้าหยิบผ้าเช็ดหน้า

ที่หล่นส่งให้

น้องเจลและพูดว่า

ผ้าของเจลหล่น

 

2 ก.ค.50

ขณะที่ครูพาเดินรอบ

บริเวณโรงเรียน น้อง

ฟ้าก้มลงหยิบห่อขนม

ที่พื้น และหันมาพูดว่า

ครูขา ใครก็ไม่รู้ทิ้งไว้

ค่ะ แล้ววิ่งนำขยะไป

ทิ้งที่ถังขยะ

22 ก.ค.50

ที่สวนหน้าห้องศูนย์ฯ

น้องฟ้าชี้ที่ต้นไม้ และ

หันไปพูดกับกลุ่มเพื่อน

มาดูสิมีดอกแล้ว

10 ก.ค.50

บริเวณที่เข้าแถว น้อง

ฟ้านั่งร้องไห้เสียงดัง

และชี้ที่ขาของตนซึ่งมี

มดตัวหนึ่งกัดอยู่ และ

ร้องอีกว่า ทำไงดีๆ

13 ก.ค.50

ที่มุมศิลปะ น้องฟ้าพูดกับน้องต้นว่า ขวดนี้ (สีน้ำ) ไม่มีพู่กัน ไม่มีเลย นั่งเฉยๆ และพูดเช่นเดิมซ้ำๆ กัน น้องต้นพูดว่า ก็ไปหยิบสิ

 

 

 

 



    1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ เช่น เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง เพื่อให้รู้ความคิดของเด็ก ทั้งนี้ ครูควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไป ในกรณีที่ต้องการสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคล ครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล

    1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กจากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวัน ครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงาน เช่น เก็บตัวอย่างผลงานการตัดกระดาษที่แสดงการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านการตัดกระดาษของเด็กเดือนละ 1 ชิ้นงาน แล้วนำมาจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น การเก็บสะสมผลงานอย่างต่อเนื่องนี้ ครูต้องประเมินว่าผลงานแต่ละชิ้นแสดงความก้าวหน้าของเด็กอย่างไร ไม่ใช่การนำมาเก็บรวมกันไว้เฉยๆ ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกและจัดเก็บผลงาน และครูสามารถนำผลงานที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็กด้วย
        วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดีต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกตเด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น

2. วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน ดังนี้

    2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ครูประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกรายการประเมิน ครูที่ทำบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของเด็ก หรือให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม

    2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ส่งผลให้ครูสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับเด็กในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของเด็กทั้งชั้นเรียน การสรุปเช่นนี้ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

        ทั้งนี้ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดีต้องผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับการจัดประสบการณ์ การประเมินช่วยให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มที่ ครูปฐมวัยจึงควรศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย วางแผนการประเมินให้เหมาะสม ใช้ผลการประเมินในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก การประเมินจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ช่วยทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ


*** บทความนี้สามารถดาวน์โหลดไฟล์รูปแบบ pdf ได้ ***



ความคิดเห็นผู้ใช้

เสนอแนะโดย tennoji เปิด 2011-05-28 22:14:12
ขอบคุณครูแมวค่ะเป็นประโยชน์มากค่ะ

เสนอแนะโดย PAY เปิด 2011-06-22 20:04:54
ขอบคุณครูแมวมากเลยน่ะค่ะ ที่ต่อยอดความหนูด้วย

เสนอแนะโดย nomfon เปิด 2012-07-04 16:47:30
ขอบคุณมากคะ

เสนอแนะโดย chiraprapa เปิด 2015-06-02 21:01:55
ขอบคุณคะสำหรับข้อมูบที่เข้าอบรมกับครูแมว เพื่อส่งต้นสังกัด

Please login or register to add comments