Skip to content

ห้องเรียนคุณครูแมว

Wide screen resolution Increase font size Decrease font size Default font size default color black color cyan color green color red color
ลานหน้าห้อง arrow โต๊ะทำงาน arrow งานเขียนครูแมว arrow หน่วยการเรียน arrow การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องปลาสายรุ้ง
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องปลาสายรุ้ง
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม   

แนวคิดพื้นฐาน

        "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็กการนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ความหมาย

        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวม

หลักการ

1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็กในการค้นหาความหมาย
2. การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน
3. การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
4. การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน
5. เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า

วิธีการ

1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้องให้เด็กคอยตอบคำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
*** ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มีคำยากปนอยู่บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธีเรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียนภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง ***
** เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็กจะหยิบหนังสือมาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ง่ายมากเมื่อเด็กรักที่จะอ่านแล้ว ***

2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม โดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ
** ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, การประเมินค่า, การสร้างสรรค์ **

3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ

 

images/stories/v1.gif images/stories/v2.gif
        เด็กๆ ถ่ายทอดความรู้สึกและลำดับเรื่องราวผ่านละครสร้างสรรค์ หลังจาก ได้ฟังนิทานเรื่องปลาสายรุ้ง เป็นการเรียนรู้ที่จะเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมใน การนำเสนอความคิดด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่เด็กๆ ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ         เด็กสนใจที่จะวาดภาพปลาที่เลี้ยงไว้ ทำให้มีโอกาสสังเกตปลาจากมุมมอง ที่ต่างๆ กัน ได้อธิบายในเรื่องตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อนที่ของปลา และได้ สื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด

 images/stories/v3.gif images/stories/v4.gif 
        เด็กๆ ช่วยกันตัดกระดาษเป็นเกล็ดปลาสายรุ้งแล้วนำสร้างสรรค์งานร่วมกับเพื่อน เด็กได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้เกิดความพอใจ และสนุกสนาน เมื่อ ครูนำงานที่เด็กทำมาจัดแสดงไว้ในห้องเรียนทำให้เด็กได้ชื่นชมและมีความรู้สึกที่ดี ต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งมีสุนทรียภาพต่อสิ่งแวดล้อมด้วย         เด็กๆ ประดิษฐ์ปลาหมึกจากกรวยกระดาษและกระดาษย่น หลังจากนั้นครูจึง นำผลงานของเด็กมาจัดแสดงไว้เป็นโมบายที่ใช้ตกแต่งห้องเรียน เด็กๆ ได้ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก ด้วยการประดิษฐ์ รวมทั้งได้แสดงความ คิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อและวัสดุต่างๆ

images/stories/v5.gif images/stories/v6.gif
        เด็กๆ สนใจเล่นเกมการศึกษาจากวรรณกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็ก มีประสบการณ์ทางภาษาผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน และสื่อความหมายกับเด็ก

       การให้เด็กเล่นเกมการศึกษาซึ่งเป็นเกมภาษา จากวรรณกรรม ทำให้เด็กได้รับความพึงพอใจ และ ความสนุกสนานผ่านทางภาษาที่มีความหมายต่อเด็ก เกมภาษาที่ครูควรจัดทำ เช่น เกมเรียงลำดับ-เหตุการณ์เกมภาพตัดต่อ เกมสังเกตรายละเอียดของ ภาพ และเกมจับคู่ภาพกับคำ เป็นต้น

images/stories/v7.gif        เด็กสร้างสรรค์ปลาสายรุ้งด้วยขนมปังและแยมสีต่างๆ เด็กรู้จักรูปทรงเรขาคณิต ของขนมปังทั้งที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม และถูกตัดเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเป็นหางปลา เรียนรู้ ที่จะอดทนรอคอยให้งานสำเร็จก่อนที่จะรับประทานอย่างมีความสุข

images/stories/v8.gif   images/stories/v9.gif
        เด็กๆ ช่วยกันผสมแป้งแพนเค้ก ไข่ นม และน้ำ แล้วจึงนำไปทอด ทำให้ได้ สังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งจากการสัมผัส ดู ได้ยินเสียง ได้กลิ่น และชิม เด็กๆ เรียนรู้ที่จะทำงานตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ ได้แพนเค้กรูปปลาสายรุ้ง ปลาสีฟ้า ปลาหมึก ปลาดาวตามที่ตั้งใจไว้

 images/stories/v10.gif  images/stories/v11.gif
        หนังสือเล่มใหญ่ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของเด็ก เป็นสื่อที่เด็กให้ความสนใจมาก เด็กๆ มี โอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ และความ ต้องการของเพื่อน เมื่อครูนำผลงานของเด็กมา จัดแสดงไว้ในลักษณะต่างๆ ทำให้เด็กได้ทบทวน เรื่องราว และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน


กิจกรรมเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม

*** การวิเคราะห์ตัวละคร
*** การวิเคราะห์สถานการณ์
*** การจัดทำวัตถุสิ่งของ
*** การเล่นละครสร้างสรรค์
*** อุปกรณ์ประกอบฉากหรือเครื่องแต่งกายที่สัมพันธ์กับเรื่อง
*** การจัดโต๊ะนิทาน
*** การทำหนังสือนิทาน
*** การทำศิลปะแบบร่วมมือ
*** การประกอบอาหาร
*** การประดิษฐ์และการสร้าง
*** เพลง และคำคล้องจอง
*** การเคลื่อนไหวและจังหวะ
*** การเพาะปลูก
*** การเลี้ยงสัตว์
*** เกมการศึกษา
*** ฯลฯ

4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกันเลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และสิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกันจัดนิทรรศการ

การเรียนรู้ประกอบด้วยจุดสนใจหลักและรับรู้สิ่งรอบตัวไปพร้อมๆ กัน

images/stories/v12.gif images/stories/v13.gif
images/stories/v14.gif images/stories/v19.gif
images/stories/v15.gif images/stories/v16.gif
images/stories/v17.gif images/stories/v18.gif

        ครูควรใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในทุกแง่มุมจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนให้สัมพันธ์กับวรรณกรรมโดยให้เด็กมีส่วนร่วม เพื่อให้สมองเรียนรู้จากจุดสนใจหลักและรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวไปพร้อมๆ กัน

ประสบการณ์ทางภาษาภาครับ

เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษาที่มีความหมาย
เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง

ประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง

เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ
เด็กได้รับกำลังใจและการยอมรับนับถือต่อความต้องการ ในการสื่อสารของเด็กเอง
เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตาม ระดับพัฒนาการ
เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น
เด็กใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา ตั้งสมมุติฐาน สรุป หรือ ทำนายเหตุการณ์
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์

ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดประสบการณ์

  images/stories/sub01.png เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
  images/stories/sub01.png เด็กมีพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมกับวัย


ความคิดเห็นผู้ใช้

เสนอแนะโดย PAY เปิด 2011-06-22 19:43:15
อยากได้นิทานจังค่ะ

เสนอแนะโดย PAY เปิด 2011-06-22 19:57:16
อยากมีห้องเหมือนโรงเรียนครู

เสนอแนะโดย mokanokon เปิด 2012-04-08 07:29:29
ขอบคุณมากค่ะได้ความรู้มากเลย จะนำไปเสนอแนะคุณครูต่อไป

เสนอแนะโดย kungjit02 เปิด 2013-07-17 21:49:14
ขอบคุณมากคะจะนำความรุู้ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนค่ะ

Please login or register to add comments