Skip to content

ห้องเรียนคุณครูแมว

Wide screen resolution Increase font size Decrease font size Default font size default color black color cyan color green color red color
ลานหน้าห้อง arrow โต๊ะทำงาน arrow งานเขียนครูแมว arrow การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม   

        การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู ทั้งนี้ สุวิมล ว่องวาณิช (2550: 22) ได้นำเสนอลักษณะสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไว้ ดังต่อไปนี้

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ การวิจัยที่มีลักษณะดังนี้

ใคร

ครูผู้สอนในห้องเรียน

ทำอะไร

ทำการแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหา

ที่ไหน

ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

เมื่อไร

ในขณะที่การเรียนการสอนกำลังเกิดขึ้น

อย่างไร

ด้วยวิธีการวิจัยที่มีวงจรการทำงานต่อเนื่องและสะท้อนกลับการทำงานของตนเอง (Self-reflection) โดยมีขั้นตอนหลัก คือ การทำงานตามวงจร PAOR [การวางแผน (Plan), การปฏิบัติตามแผน (Act), การสังเกตผลที่เกิดจากการปฏิบัติ (Observe), การสะท้อนผลหลังการปฏิบัติงาน (Reflect & Revise)]

เพื่อจุดมุ่งหมายใด

มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

ลักษณะเด่นการวิจัย

เป็นกระบวนการวิจัยที่ทำอย่างรวดเร็ว โดยครูผู้สอนนำวิธีการแก้ปัญหาที่ตนคิดขึ้นไปทดลองใช้กับผู้เรียนทันและสังเกตผลการแก้ปัญหานั้น มีการสะท้อนผล และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนครูในโรงเรียน เป็นการวิจัยแบบร่วมมือ (Collaborative research)


        ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ม.ป.ป.: 3) ได้ระบุหลักการของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไว้ดังนี้

        1. การวิจัยปฏิบัติการในโรงเรียนแท้ๆ ต้องเป็น "งานเล็กๆ ง่ายๆ และมีคุณค่า" (A small, simple and significant task) ที่บูรณาการอยู่ในการปฏิบัติงานการจัดการเรียนการสอนปกติของครู

        2. เราทั้งผองสามารถเรียนรู้จากกันและกัน (We all can learn from each others)

        ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ม.ป.ป.: 7) ได้แนะนำเกี่ยวกับแบบของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน 4 สถานการณ์ ดังนี้

สถานการณ์

ควรทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบใด

 

คำถามวิจัย

การจัดเก็บข้อมูล

ต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

CAR 1:

การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

1) นักเรียนมีลักษณะอย่างไร

2) ควรปรับปรุงและพัฒนา

    นักเรียนคนใดในเรื่อง

    อะไรบ้าง

3) ควรใช้แผนกิจกรรมการ

    เรียนรู้อย่างไร

1) พัฒนาการทุกด้าน

2) ความสนใจ ความถนัด

    ศักยภาพ และความต้องการ

    จำเป็น

ต้องประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการสอน

CAR 2:

การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของตนเอง

1) ความสำเร็จของการสอนมี

    อะไรบ้าง มีสาเหตุและ

    ปัจจัยมาจากอะไร

2) ปัญหาของการสอนมี

    อะไรบ้าง และมีสาเหตุและ

    ปัจจัยมาจากอะไร

3) แนวทางแก้ไขปรับปรุง

    พัฒนาแผนการจัดการ

    เรียนรู้และพฤติกรรมการ

    สอนของตนเอง มีอะไรบ้าง

1) บันทึกระหว่างสอนและ

    หลังสอน

2) การสังเกตพฤติกรรม

    นักเรียนทั้งในและนอก

    ห้องเรียน

3) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง

4) ผลงานนักเรียน

5) การประชุมระดับชั้นและ

    ประชุมกลุ่มสาระ

ครูสังเกตเห็นว่านักเรียนบางคนมีปัญหาที่ครูต้องช่วยคลี่คลายและแก้ไข

CAR 3:

กรณีศึกษานักเรียน

1) นักเรียนมีปัญหาอะไรบ้าง

2) สาเหตุและปัจจัยของปัญหา

    มีอะไรบ้าง

3) แนวทางการแก้ไขควรมี

    เป้าหมาย/ขั้นตอนอย่างไร

4) ผลการแก้ไขมีความสำเร็จ

    และปัญหาอย่างไร และควร

    พัฒนาต่อไปอย่างไร

 

1) การสังเกตในสภาพต่างๆ

    ทั้งในและนอกห้องเรียน

2) การสัมภาษณ์ผู้เรียนและ

    ผู้เกี่ยวข้อง

3) วิเคราะห์เอกสารต่างๆ

ครูต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้

CAR 4:

การพัฒนานวัตกรรม

การจัดการเรียนรู้

1) ผลลัพธ์ที่ต้องการพัฒนา

    และหลักในการพัฒนามี

    อะไรบ้าง

2) การสร้างนวัตกรรมควรทำ

    อะไรบ้าง

3) ผลการทดลองใช้นวัตกรรม

    ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและ

    ประสิทธิผลในการเรียนรู้

    และการสอนหรือไม่

4) นวัตกรรมควรได้รับการ

    ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

    อย่างไร

1) ข้อมูลสภาวะเริ่มต้น

2) ข้อมูลพัฒนาทางพฤติกรรม

    การเรียนรู้ของผู้เรียน

3) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง

    ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน


        กล่าวโดยสรุปได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆ เป็นการดำเนินการที่มีการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันที นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนอย่างแท้จริง